รายละเอียด
คำแนะนำในการใช้งาน
ของตู้เย็นพร้อมช่องแช่แข็ง
คำเตือนสำคัญเกี่ยวกับความปลอดภัย
ข้อมูลทั่วไปและเทคนิคพิเศษ
เราขอขอบคุณสำหรับความไว้วางใจที่คุณได้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าของเราซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อทำให้ชีวิตของคุณง่ายขึ้น คู่มือการใช้งานนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ได้ง่ายขึ้น คำแนะนำควรช่วยให้คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ของคุณได้โดยเร็วที่สุด
เราหวังว่าท่านจะมีความสุข และประทับใจ ในการใช้อุปกรณ์เหล่านี้
เราขอเชิญท่านเข้าไปที่เว็บไซต์ของเรา ซึ่งท่านสามารถใส่เลขที่รุ่นของเครื่องไฟฟ้าของท่าน ดังที่ระบุในฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือในเอกสารการรับประกัน เพื่อที่จะหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องไฟฟ้าของท่าน รวมไปถึงเทคนิคพิเศษในการใช้ การแก้ปัญหาเบื้องต้น ข้อมูลการบริการ และคำแนะนำการใช้อื่นๆ
http://www.gorenje.com
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านี้ ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการใช้งานในครัวเรือนเท่านั้น
ส่วนตู้แช่เย็น ถูกออกแบบมาสำหรับการเก็บรักษาอาหารสดในอุณหภูมิ ที่สูงกว่า 0° เซลเซียส
และในส่วนตู้แช่แข็ง ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เก็บรักษาอาหารสดแบบแช่แข็งและสามารถเอาไว้ใช้เก็บเอกหารแช่แข็ง (Frozen Food) เป็นระยะเวลานานๆได้ (อาจนานได้ถึง 1 ปี โดยขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร)
สัญลักษณ์ที่ปรากฏตลอดในคู่มือนี้มีความหมายต่อไปนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม, คำแนะนำ, เคล็ดลับ, หรือข้อเสนอแนะ
คำเตือน - อันตรายทั่วไป
คำเตือน - อันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
คำเตือน - อันตรายจากไฟ
หมายเหตุสำคัญและ คำเตือนเบื้องต้น
การเตรียมตัวก่อนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าครั้งแรก
ก่อนที่จะต่อไฟฟ้าเข้าสู่เครื่องใช้ไฟฟ้า (เสียบปลั๊กไฟฟ้า) กรุณาอ่านคู่มือการใช้อย่างละเอียดโดยเฉพาะในเรื่องการใช้งาน ซึ่งจะมีการอธิบายทั้งตัวอุปกรณ์เครื่องไฟฟ้า และวิธีการใช้ที่ถูกต้องและปลอดภัย อย่างไรก็ตาม วิธีการใช้ในที่นี้ สามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในแบบอื่นๆ หรือรุ่นอื่นๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น การตั้งค่าบางอย่าง หรืออุปกรณ์พิเศษบางอย่างที่ได้อธิบายไว้ อาจจะไม่มีในเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่าน เราแนะนำให้ท่านเก็บคู่มือการใช้นี้ไว้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงต่อไปในอนาคต หรือเก็บไว้เป็นเอกสารกำกับเครื่องใช้ไฟฟ้านี้หากท่านต้องการขายเครื่องใช้ไฟฟ้านี้ในอนาคต
กรุณาตรวจสอบความเสียหายหรือสิ่งผิดปกติที่เครื่องใช้ไฟฟ้าของท่าน หากท่านพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความเสียหาย ขอให้ท่านแจ้งตัวแทนจำหน่ายที่ท่านได้ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้านี้มา
ก่อนที่จะต่อไฟฟ้าเครื่องใช้ไฟฟ้า(เสียบปลั๊กไฟฟ้า)เข้ากับระบบไฟฟ้า (Power Main) ให้ตั้งเครื่องไฟฟ้าทิ้งไว้ในแนวตั้งตรงกับพื้น เป็นเวลาอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดโอกาสที่ระบบทำความเย็นของเครื่องที่จะทำงานผิดพลาด อันมีสาเหตุมาจากการขนส่ง
คำแนะนำด้านความปลอดภัยที่สำคัญ
คำเตือน! ความเสี่ยงจากไฟหรือวัสดุติดไฟ
เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องต่อกับระบบไฟฟ้าและต้องต่อสายดิน (Ground) ตามมาตรฐานและกฎระเบียบการต่อสายดินของประเทศนั้นๆ
คำเตือน! ห้ามวางรางปลั๊กพ่วงหรืออุปกรณ์จ่ายไฟแบบพกพาไว้บริเวณด้านหลังของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก่อนทำความสะอาดเครื่องไฟฟ้า ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า (Power Main) (ถอดปลั๊กไฟออกจากเต้าเสียบไฟฟ้าที่ผนัง)
คำเตือน! หากสายไฟเสียหายควรได้รับการเปลี่ยนใหม่จากผู้ผลิต หรือตัวแทนผู้จัดจำหน่ายหรือบุคคลที่มีคุณสมบัติที่สามารถซ่อมแซมได้ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย
คำเตือน! เมื่อจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายไฟไม่ถูกหนีบทับและอยู่ในสภาพสมบูรณ์
หากระบบไฟแอลอีดี (LED) ไม่ทำงาน ให้เรียกช่างบริการหลังการขาย และอย่าพยายามซ่อม หลอดไฟ หรือ ระบบไฟ LED ด้วยตัวท่านเอง เนื่องจากระบบไฟ LED ถูกต่ออยู่กับวงจรไฟฟ้ากำลังสูง
คำเตือน! ไม่ใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของช่องเก็บรักษาอาหารของเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกเหนือจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่แนะนำโดยผู้ผลิต
อันตราย! ห้ามใช้อุปกรณ์หรือวิธีการอื่นๆ เพื่อเร่งกระบวนการละลายน้ำแข็ง เว้นแต่ได้รับคำแนะนำจากผู้ผลิต
คำเตือน! เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตราฐาน กรุณาตรวจสอบการติดตั้งให้เป็นไปตามข้อแนะนำ
อันตรายจากการถูกน้ำแข็งกัด
ไม่ควรนำอาหารแช่แข็งเข้าไปในปากท่านในทันทีที่เอาออกจากตู้เย็น หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสอาหารแช่แข็งเนื่องจากอาจทำให้เกิดปัญหาน้ำแข็งกัดได้
ความปลอดภัยของเด็กและผู้ด้อยสมรรถภาพ
เครื่องใช้ไฟฟ้านี้ผลิตขึ้นสำหรับการใช้งานในครัวเรือนและลักษณะการใช้งานที่คล้ายคลึงกัน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้านี้ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานโดยบุคคล (รวมถึงเด็ก) ที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ประสาทสัมผัส หรือขาดประสบการณ์และความรู้ ควรมีผู้ปกครองควบคุมดูแลหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย
ห้ามมิให้เด็กเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้า
การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาของผู้ใช้ จะไม่ต้องทำโดยเด็กโดยไม่มีผู้ดูแล
ถอดบรรจุภัณฑ์ที่ห่อหุ้มเพื่อป้องกันเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนในระหว่างการขนส่ง และเก็บให้พ้นจากมือเด็กเพราะอาจะก่ออันตรายการจากบาดเจ็บได้
เมื่อต้องการขนย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้ว ให้ถอดปลั๊กไฟฟ้า ถอดประตูออก และนำชั้นวางเก็บไว้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า การดำเนินการเช่นนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กขังตัวเองไว้ในเครื่องใช้ไฟฟ้า
สำหรับในยุโรปเท่านั้น
เด็กอายุ 8 ปีขึ้นไป และบุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย ประสาทสัมผัส หรือขาดประสบการณ์และความรู้ สามารถใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้านี้ได้ภายใต้การควบคุมดูแลหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปลอดภัย รวมทั้งเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ควรควบคุมดูแลเด็กไม่ให้เล่นเครื่องใช้ไฟฟ้า
การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาของผู้ใช้ จะไม่ต้องทำโดยเด็กโดยไม่มีผู้ดูแล
เด็กที่มีอายุระหว่าง 3-8 ปี สามารถใช้งานตู้เย็นได้
คำเตือนในเรื่องน้ำยาทำความเย็น
เครื่องใช้ไฟฟ้านี้จะมีน้ำยาทำความเย็น R600a อันปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถติดไฟได้อยู่จำนวนเล็กน้อย กรุณาตรวจสอบว่า ไม่มีความเสียหายต่อระบบทำความเย็น การรั่วของก๊าซไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม แต่อาจทำให้มีอาการบาดเจ็บที่ตา หรือเกิดติดไฟได้
ในกรณีที่เกิดการรั่ว ให้ระบายอากาศในห้องออกและทำให้ห้องมีอากาศโปร่งโล่ง ถอดปลั๊กไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้า และโทรศัพท์ติดต่อช่างบริการหลังการขายทันที
คำเตือนสำคัญเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องไฟฟ้า
คำเตือน! เครื่องใช้ไฟฟ้านี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือนและการใช้งานที่คล้ายกัน เช่น
-
พื้นที่ครัวสำหรับพนักงานภายในร้าน สำนักงานและพื้นที่ทำงานอื่นๆ
-
ที่พักอาศัย หรือการใช้งานโดยลูกค้าของโรงแรม ห้องพักรายวัน และที่พักลักษณะอื่นๆ
-
ที่พักขนาดเล็กแบบ bed & breakfast
-
การจัดเลี้ยงและลักษณะการใช้งานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์
คำเตือน! ช่องระบายอากาศภายในตู้ของเครื่องใช้ไฟฟ้าควรเปิดโล่งโดยไม่มีอะไรปิดกั้น
เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องไม่ถูกนำไปใช้กลางแจ้ง หรือภายนอกอาคาร ที่อาจจะโดนฝน หรือความชื้นใดๆ ได้
อย่าเก็บสารที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดได้ เช่น กระป๋องสเปรย์ที่สามารถติดไฟได้ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้านี้
หากเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ได้ถูกใช้เป็นระยะเวลานานๆ ให้ท่านปิดปุ่มสวิทช์ควบคุมที่เกี่ยวข้อง และถอดปลั๊กไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า นำสิ่งของ อาหาร ออกจากภายในเครื่องไฟฟ้าทั้งหมด ทำการละลายน้ำแข็ง ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า และ แง้มประตูเปิดทิ้งเอาไว้เล็กน้อย
ในกรณีที่เกิดความผิดปกติหรือปัญหาเกี่ยวกับระบบจ่ายไฟฟ้า อย่าเปิดส่วนแช่แข็ง ยกเว้นไม่ได้ใช้งานช่องแช่แข็งมามากกว่า 16 ชั่วโมง หลังจากพ้นช่วงผิดปรกตินี้ไปแล้ว ให้นำอาหารแช่แข็งมาประกอบอาหาร หรือหาวิธีอี่นที่จะให้ความเย็นอย่างเหมาะสม (เช่น การเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้า)
ข้อมูลทางเทคนิคที่เครื่องใช้ไฟฟ้า
ฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า จะสามารถพบภายในของเครื่องใช้ไฟฟ้า ป้ายนี้จะแสดงข้อมูลในเรื่องกระแสไฟฟ้า, ปริมาตรรวม และปริมาตรสุทธิ, แบบของเครื่องใช้ไฟฟ้า, ปริมาณน้ำยาทำความเย็น และข้อมูลสเปคเขตภูมิอากาศของเครื่องใช้
หากภาษาในฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ใช่ภาษาของท่าน หรือภาษาประเทศของท่าน ท่านสามารถทดแทนได้ด้วยแผ่นป้ายที่เพิ่มให้เป็นพิเศษ
คำเตือน! ไม่ควรทำความเสียหายต่อระบบท่อน้ำยาทำความเย็น การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการช่วยป้องกันปัญ
การปกป้องสิ่งแวดล้อม
วัสดุหีบห่อแพ็คเกจ ถูกผลิตด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถนำมาใช้ซ้ำ (Recycle) กำจัด หรือทำลายได้โดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
การกำจัดเครื่องใช้ฟ้าที่ไม่ได้ใช้แล้ว
เพื่อเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ท่านควรนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกรุ่นและไม่ได้ใช้ไปยังศูนย์รับเก็บเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับการแต่งตั้ง
ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการกำจัด ให้ปฏิบัติดังนี้
-
ถอดปลั๊กไฟฟ้าออกจากระบบไฟฟ้า
-
ไม่ควรอนุญาตให้เด็กไปเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้า
สัญลักษณ์นี้บนสินค้า หรือ บนหีบห่อแพ็คเกจ เพื่อบ่งชี้ให้เห็นว่า ไม่ควรทำลายหรือจัดการสินค้า
หรือวัตถุนั้นเหมือนของเสียจากการใช้งานอุปโภคบริโภคทั่วไป สินค้าหรือวัตถุนั้นควรได้รับการจัดการจากศูนย์การจัดเก็บที่ได้รับการแต่งตั้งในการจัดการกำจัดของเสียอิเลคโทรนิค
หรือมีระบบจัดการเครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า การกำจัดทำลายอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกัน และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลเสียในด้านลบตามมาในด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของคนซึ่งอันเป็นเหตุมากจากการจัดการอย่างไม่เหมาะสม
สำหรับรายละเอียดข้อมูลการกำจัดทำลาย กรุณาติดต่อหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นที่ดูแลในเรื่องการกำจัดของเสีย
หรือบริษัทรับกำจัดของเสีย หรือในบางประเทศก็สามารถติดต่อร้านค้าที่ได้ซื้อสินค้ามา
คำแนะนำสำหรับเรื่องการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน
-
การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ให้เป็นไปตามที่ระบุอยู่ในคู่มือการใช้
-
ไม่ควรเปิดประตูเครื่องใช้ไฟฟ้าบ่อยๆ เกินความจำเป็น
-
ในบางโอกาส ควรหมั่นตรวจสอบระบบหมุนเวียนอากาศใต้เครื่องใช้ไฟฟ้า ว่าไม่มีสิ่งใดมากั้นทิศทางระบายลม
-
หากขอบยาง (Gasket) ได้รับความเสียหาย หรือไม่สามารถปิดผนึก หรือกันการรั่วซึมได้อย่างสมบูรณ์ ให้ทำการเปลี่ยนอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
-
เก็บอาหารในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดผนึกอย่างมิดชิด หรือมีกล่องเก็บอย่างเหมาะสม
-
หากอาหารที่จะเก็บมีอุณหภูมิสูง ก่อนเก็บอาหารเข้าไปในตู้เย็น ควรผึ่งไว้ให้เย็นก่อน
-
ท่านสามารถละลายน้ำแข็งของอาหารแช่แข็งในส่วนห้องแช่เย็นปกติได้เช่นกัน
-
หากท่านต้องการใช้พื้นที่ภายในทั้งหมดของส่วนห้องแช่แข็ง ท่านสามารถเอาลิ้นชักออกได้ ตามที่ระบุในคู่มือการใช้
-
ท่านควรละลายน้ำแข็งภายในส่วนห้องแช่แข็งเมื่อมีชั้นน้ำแข็งเกาะประมาณ 3-5 มิลลิเมตร หรือเมื่อมีน้ำแข็งก่อตัวขึ้นที่บริเวณผิวภายในของตู้เย็น
-
ตรวจสอบให้ถูกต้องว่าลักษณะการวางชั้นเป็นไปตามแบบ และภาชนะอาหารถูกเก็บอย่างมีระเบียบ เพื่อที่ว่า อากาศเย็นภายในจะสามารถหมุนเวียนได้อย่างอิสระทั่วถึงภายในของตู้เย็นทั้งหมด (โปรดสังเกตุรูปแบบที่แนะนำของการจัดวางอาหารภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ได้มีอธิบายไว้ในคู่มือ)
-
ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีพัดลม กรุณาตรวจสอบว่าไม่มีสิ่งใดไปปิดกั้นช่องพัดลม
-
หากท่านไม่ต้องการใช้ พัดลม หรือเครื่องปล่อยประจุไออน ท่านก็สามารถปิดสวิทช์ได้ เพื่อประหยัดพลังงาน
การติดตั้ง และ การต่อกับระบบไฟฟ้า
การเลือกห้องเพื่อใช้วางเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ในบริเวณห้องที่แห้งและถ่ายเทอากาศได้ดี เครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำงานได้อย่างเหมาะสมหากอุณหภูมิแวดล้อมอยู่ในช่วงตามตารางที่ระบุ ข้อมูลสเปคเขตภูมิอากาศของเครื่องใช้ไฟฟ้า(ระดับอุณหภูมิที่นำงาน) จะถูกระบุไว้ในฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้าร่วมกับข้อมูลเบื้องต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ชั้น
ช่วงอุณหภูมิโดยรอบ °C
ความชื้นสัมพัทธ์
อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
SN
+10 ถึง +32
≤75%
อุณหภูมิ
N
+16 ถึง +32
เขตร้อนชื้น
ST
+16 ถึง +38
เขตร้อน
T
+16 ถึง +43
เครื่องใช้ไฟฟ้านี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องใช้ในตัว
ไม่ควรติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ในห้องที่อุณหภูมิสามารถที่จะลงไปต่ำกว่า 5º เซลเซียส เนื่องจากจะเป็นสาเหตุทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานผิดปกติ หรือผิดพลาดได้
-
หลังจากที่ติดตั้งแล้ว ควรจัดการให้ปลั๊กของเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงสามารถเข้าถึงหรือถอดออกได้
-
อย่าติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าให้อยู่ใกล้กับเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่ให้หรือกระจายความร้อน ตัวอย่างเช่น หม้อหุงข้าว เตา หม้อน้ำเครื่องทำน้ำร้อน และอื่นๆ และอย่าให้ได้รับแสงแดดส่องโดยตรง เครื่องใช้ไฟฟ้าควรอยู่ห่างอย่างน้อย 3 เซนติเมตรจากเตาแก็สหรือเตาไฟฟ้า หรืออย่างน้อย 30 เซนติเมตรจากเตาถ่านหรือเตาจากน้ำมันเชื้อเพลิง หากระยะห่างจากแหล่งความร้อนดังกล่าวน้อยเกินไป ให้ติดตั้งฉนวนกันความร้อนเพิ่มให้เพียงพอ
หมายเหตุ: วางเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีพื้นที่อย่างน้อย 1ตารางเมตร ต่อสารทำความเย็น 8 กรัม ซึ่งจำนวนสารความเย็นจะระบุอยู่บนแผ่นระดับพลังงานภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า
การจัดวางเครื่องใช้ไฟฟ้า
การติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าควรดำเนินการด้วยบุคคลอย่างน้อยสองท่านเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อบุคคลหรือความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องอยู่ในระดับยืนหรือเอียงไปทางด้านหลังเล็กน้อย โดยควรจะตั้งอย่างมั่นคงและวางบนฐานที่มั่น ที่ด้านหน้า ตัวเครื่องจะมีขาปรับระดับได้ 2 ข้าง ซึ่งสามารถใช้ปรับระดับเครื่องได้ ที่ด้านหลังจะมีล้อช่วยให้ติดตั้งเครื่องได้ง่ายขึ้น (เฉพาะบางรุ่น)
-
หลังจากที่คุณปรับระดับเครื่องโดยใช้ขาตั้งแบบปรับได้แล้ว ให้ปรับขาตั้งเพิ่มเติมเพื่อให้เครื่องมีความมั่นคงยิ่งขึ้น
-
อย่าให้เครื่องถูกแสงแดดโดยตรงและอย่าวางใกล้แหล่งความร้อน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ให้ติดตั้งแผงฉนวนกันความร้อน
เนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรยึดด้วยตัวยึดที่จะป้องกันการสะดุด เพราะอาจเอียงไปข้างหน้าเมื่อเปิดประตูได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อชั้นวางประตูถูกโหลดจนสุด เจาะสองรู Ø 8 มม. ลงในผนังด้านหลังเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ความสูง 57 และ 117 มม. โดยไล่จากพื้นตามลำดับและ 50 มม. จากด้านซ้ายของเครื่องใช้ไฟฟ้าจากมุมด้านหน้าของเครื่องใช้ไฟฟ้า ใส่เดือยเข้าไปในรูทั้งสองและใช้สกรูเพื่อยึดตัวยึด กดเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้ากับผนังเพื่อให้ตัวยึดอยู่เหนือตัวรองรับคอมเพรสเซอร์
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจตั้งวางอย่างอิสระหรือวางไว้ข้างตู้ ชั้น หรือผนังได้ หากคุณวางเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ข้างตู้ ชั้น หรือผนัง ก็อาจมีการใช้พลังงานอาจเพิ่มขึ้น
-
จะต้องมีช่องว่างอย่างน้อย 50 มม. ระหว่างเครื่องใช้ไฟฟ้าและตู้ใดๆ ด้านบน เพื่อให้สามารถระบายอากาศและระบายความร้อนของเครื่องใช้ไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอจะต้องมีช่องว่างอย่างเพียงพออยู่ด้านหลังเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน (ดูแผนภาพการติดตั้ง)
-
คำนึงถึงพื้นที่หรือช่องว่างที่จำเป็นต้องเผื่อไว้สำหรับการเปิดประตูเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ลิ้นชักและชั้นวางสามารถดึงออกหรือถอดออกได้ (ดูแผนภาพการติดตั้ง)
การต่อระบบไฟฟ้าเข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
ต่อปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้ากับระบบไฟฟ้า (Power Main) ด้วยการใช้สายไฟฟ้าที่มีมาให้ เต้าไฟฟ้าฝังกำแพงก็ควรต่อเข้ากับระบบสายดินเอาไว้ ระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งาน (Nominal Voltage) และความถี่กระแส (Frequency) จะถูกแจ้งไว้ที่ฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสดงสัญลักษณ์และข้อมูลพื้นฐานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องต่อเข้ากับระบบไฟฟ้า (Power Main) และระบบสายดิน (Ground) ตามข้อกำหนดมาตรฐานและกฎหมายที่บังคับใช้ของแต่ละประเทศ เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงจากระดับแรงดันไฟฟ้าใช้งาน (Nominal Voltage) ได้ชั่วคราวหากค่าการเปลี่ยนแปลงไม่เกิน +/- 6%
การกลับทิศทางการเปิดประตู
เครื่องใช้ไฟฟ้านี้ไม่สามารถเปลี่ยนทิศทางการเปิดประตูได้
รายละเอียดของเครื่องใช้ไฟฟ้า
อุปกรณ์ภายในของเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจจะแตกต่างกันไปตามรุ่นต่างๆ
A. ช่องแช่แข็ง
B. ตู้เย็น
-
แผงควบคุม
-
ชั้นวางกระจก
-
ร่องระบายน้ำ
-
FreshZone ลิ้นชัก*
-
กล่องเก็บน้ำผักผลไม้พร้อมระบบควบคุมความชื้น (CrispZone)*
-
ชั้นขอบเตี้ยเก็บอาหาร
-
ช่องชั้นวางขวดเครื่องดื่ม
-
ฟุต
*ฟังก์ชั่นนี้ มีเฉพาะในบางรุ่นเท่านั้น
-
ลิ้นชักมีระบบป้องกันไม่ให้ดึงออกโดยไม่ได้ตั้งใจ ในการถอดลิ้นชักออกจากเครื่อง ให้ดึงออกมาเท่าที่จะดึงได้ จากนั้นยกที่ด้านหน้าและดึงออกมาจนสุด
การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
ปุ่มเปิด/ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและลูกบิดตั้งอุณหภูมิ
การเปิด/ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า
วิธีเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า: หมุนลูกบิดตามเข็มนาฬิกาและเลือกการตั้งค่าระหว่าง 1 กับ 7.
เพื่อปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จากนั้นหมุนลูกบิดไปที่ตำแหน่ง 0 (ข้อควรระวัง: เครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงเปิดอยู่)
การปรับอุณหภูมิเครื่องใช้ไฟฟ้า
หลังจากเปิดเครื่องอาจใช้เวลาหลายชั่วโมงจนกว่าจะถึงอุณหภูมิที่ตั้งไว้ อย่าวางอาหารลงในเครื่องใช้ไฟฟ้าก่อนที่อุณหภูมิจะลดลงตามการตั้งค่าที่เลือก
-
ในการตั้งค่าอุณหภูมิที่ต้องการ ให้หมุนลูกบิด A ไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อเลือกการตั้งค่าที่ต้องการ
-
การตั้งค่าที่แนะนำของลูกบิด A อยู่ที่ตำแหน่ง อีโค่ (eco)
-
อุณหภูมิแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะส่งผลต่ออุณหภูมิในเครื่องด้วย ปรับการตั้งค่าอุณหภูมิตามความเหมาะสมโดยใช้การตั้งค่า ลูกบิด A ไปใกล้เคียง 7 สอดคล้องกับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าในเครื่อง (เย็นกว่า) ในขณะที่การตั้งค่าใกล้เคียงกับ 1 สอดคล้องกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น (อุ่นขึ้น)
หากอุณหภูมิของห้องที่ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียสเราขอแนะนำให้ตั้งค่า ลูกบิด A ไปที่ประมาณ 6.
ถ้าคุณตั้งลูกบิดไว้ที่ 7 อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่อุณหภูมิในช่องแช่เย็นจะลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส
ฟังก์ชั่นเร่งการแช่แข็ง ในส่วนห้องแช่แข็ง (super freeze)
-
ใช้การตั้งค่านี้หลังจากเปิดเครื่องเป็นครั้งแรก ก่อนทำความสะอาด หรือ 24 ชั่วโมงก่อนใส่อาหารปริมาณมาก
การเปิดใช้งานฟังก์ชันแช่แข็งจัด (แช่แข็งพิเศษ): ให้หมุน แป้นหมุน A ไปยังตำแหน่ง.
เมื่อฟังก์ชั่นเร่งพลังแช่แข็งเริ่มทำงาน อุณหภูมิอาจจะลดลงทั้งในส่วนห้องแช่เย็น และในส่วนห้องแช่แข็ง
หลังจากสิ้นสุดรอบการแช่แข็งจัด (แช่แข็งพิเศษ) ให้หมุน ลูกบิด A กลับไปที่การตั้งค่าที่ต้องการ
หากไม่ได้ปิดใช้งานฟังก์ชันด้วยตนเอง ฟังก์ชันนี้จะถูกปิดใช้งานโดยอัตโนมัติหลังจากผ่านไปประมาณสองวัน
อุณหภูมิจะกลับไปที่การตั้งค่าล่าสุด (ตำแหน่งลูกบิดจะยังคงอยู่ที่ตำแหน่ง).
อุปกรณ์ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้า
(*อุปกรณ์ขึ้นอยู่กับรุ่น)
ชั้นวาง
คุณสามารถจัดวางชั้นวางเปล่าตามต้องการตามคำแนะนำในตู้เย็นภายในตู้เย็นโดยไม่ต้องถอดออกจากตู้เย็น หากต้องการย้ายชั้นวางหรือนำออกจากตู้เย็น ให้ยกขึ้นด้านหลังเล็กน้อย ดึงเข้าหาตัว จากนั้นจึงย้ายหรือนำออกจากเครื่อง เก็บอาหารที่เน่าเสียง่ายไว้ด้านหลังชั้นวางที่อุณหภูมิต่ำที่สุด
กล่องเก็บน้ำผักผลไม้พร้อมระบบควบคุมความชื้น (CrispZone)*
-
กล่องที่ด้านล่างของตู้เย็นมีไว้สำหรับเก็บผักและผลไม้ ซึ่งช่วยให้ความชื้นและป้องกันไม่ให้อาหารแห้ง กล่องจะมีตัวควบคุมความชื้นในตัวซึ่งช่วยให้ตั้งค่าระดับความชื้นได้
เลื่อนแถบเลื่อนไปทางขวา: จะเป็นการปิดช่องระบายอากาศ ความชื้นในกล่องจะสูงขึ้น
เลื่อนแถบเลื่อนไปทางซ้าย: จะเป็นการเปิดช่องระบายอากาศ ซึ่งจะลดความชื้นในกล่อง
หากคุณสังเกตเห็นหยดน้ำที่สะสมอยู่ใต้ชั้นวางแก้ว ให้เปิดช่องระบายอากาศและเช็ดชั้นวาง (ดูบทการแก้ไขปัญหา)
-
การดึงกล่องชั้นเก็บ :
-
ดึงชั้นเก็บออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ จากนั้นยกด้านหน้าขึ้นแล้วดึงออกได้ทันที
-
FreshZone ลิ้นชัก*
(มีเฉพาะในบางรุ่น)
ช่องเก็บของ FreshZone ช่วยให้เก็บอาหารสดได้หลากหลายนานกว่าในตู้เย็นทั่วไปถึงสามเท่า อาหารจะคงความสดใหม่ได้นานขึ้น โดยยังคงรสชาติและสารอาหารไว้ อุณหภูมิในลิ้นชักนี้ขึ้นอยู่กับการตั้งค่าอุณหภูมิในช่องแช่เย็น อุณหภูมิสภาพแวดล้อม ความถี่ในการเปิดประตู และปริมาณอาหารที่ใส่ในตู้เย็น
สำหรับอุณหภูมิประมาณ 0 องศาเซลเซียสใน FreshZone ลิ้นชักเราขอแนะนำให้ตั้งอุณหภูมิช่องแช่เย็นไว้ที่ 4 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า อุณหภูมิใน FreshZone ลิ้นชักอาจตกต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส ดังนั้น ให้วางอาหารที่ไวต่ออุณหภูมิไว้ที่ส่วนบนของตู้เย็น
เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลิ้นชักควรจะต้องปิดสนิท
-
เมื่อซื้ออาหาร ให้ตรวจดูว่าอาหารก่อนว่ามีความสดขนาดไหน เพื่อที่จะประเมินคุณภาพของอาหารเอง และอายุการเก็บว่ายังสามารถเก็บไว้ในตู้ได้อีกนานขนาดไหน
-
ควรเก็บอาหารด้วยภาชนะที่ปิดสนิท หรือหีบห่อที่เหมาะสมที่สามารถป้องกันไม่ให้ปล่อยกระจายหรือดูดรับกลิ่นและความชื้น
-
เราแนะนำให้ท่านนำอาหารออกมาจากกล่องลิ้นชักและภาชนะ 30 ถึง 60 นาทีก่อนที่จะนำไปใช้ เพื่อที่จะให้กลิ่นและรสชาติได้มีการพัฒนาและฟื้นคืนตัวในสภาวะอุณหภูมิห้อง
-
อาหารที่มีความไวต่ออุณหภูมิต่ำและไม่เหมาะสมต่อการเก็บไว้ใน FreshZone ลิ้นชักประกอบด้วย: สับปะรด, อะโวคาโด, กล้วย, มะกอก, มันฝรั่ง, มะเขือยาว, แตงกวา, ถั่ว, พริก (พริก), แตง, แตงโม, ฟักทอง, สควอช, บวบ เป็นต้น
-
การดึงกล่องลิ้นชัก :
-
ดึงชั้นเก็บออกมาจนกระทั่งติดตัวกั้น
-
จากนั้นยกด้านหน้าขึ้นแล้วดึงออกได้ทันที
-
ชั้นวางของบนประตู
บริเวณด้านในของบานประตูตู้เย็นเป็นส่วนที่ประกอบด้วยชั้นวางที่ออกแบบมาเก็บอาหารประเภทชีส เนย ไข่ โยเกิร์ต และอาหารในหีบห่อหรือแพ็คขนาดเล็กๆ หลอด กระป๋อง หรืออื่นๆ
คุณสามารถจัดวางชั้นวางได้ตามต้องการโดยยกขึ้นเล็กน้อยจากร่องที่ยึดเข้าที่แล้วเลื่อนไปยังจุดที่ต้องการ โดยตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ใส่ลงในร่องที่นั่นพอดี
ชั้นวางด้านล่างมีไว้สำหรับเก็บขวด
ปริมาณน้ำหนักที่รับได้มากที่สุดของประตูแต่ละบาน คือ 5 กิโลกรัม
กล่องเก็บอเนกประสงค์ (MultiBox)*
-
กล่องเก็บอเนกประสงค์ (MultiBox) ทำให้ท่านมีวิธีที่สะดวกสบายอย่างยิ่งในการเก็บรักษาอาหารที่มีกลิ่นแรง หรือกลื่นฉุน เช่น บลูชีส ไส้กรอก หอมใหญ่ เนย ฯลฯ
-
ฝาซิลิโคนเป็นเสมือนล็อคผนึกอากาศ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเหี่ยวแห้ง และกลิ่นอาหารออกไปกระจายภายในส่วนแช่ต่างๆในตู้เย็น
-
ฝาซิลิโคนสามารถนำไว้ใช้เป็นที่วางไข่ และ ถาดใส่น้ำแข็งได้
-
หากใช้ฝาซิลิโคนนี้เป็นที่วางไข่ ให้วางไว้โดยตรงไปที่ด้านล่างของพื้นชั้นวางของประตู และใช้ส่วนที่เป็นฝาเปิดของกล่องเอนกประสงค์เพื่อเก็บอาหารที่มีแพ็คเก็จขนาดเล็กๆ เช่น คุ๊กกี้ ช็อคโกแลต ขนมพาสตรีย์ แยม ฯลฯ
พัดลม (DynamicAir)*
-
พัดลมจะถูกติดตั้งไว้ที่บริเวณใต้เพดานห้องแช่เย็น เพื่อจุดประสงค์ในการกระจายไอเย็นให้ทั่วเท่าๆกัน และลดปริมาณหยดน้ำที่เกิดจากการควบแน่น ที่พื้นผิวภายในของตู้เย็น
การเปิด/ปิดพัดลม:
เปิด = ปิด = 0
เมื่อเปิดพัดลมแล้ว จะมีจุดสีแดงปรากฏบนสวิตช์
ข้อแนะนำในการจัดวางอาหารในเครื่องใช้ไฟฟ้า
หมวดหมู่ของช่องเก็บภายในห้องแช่เย็นของตัวตู้เย็น
-
ส่วนบน: อาหารกระป๋อง, ขนมปัง, ไวน์, ขนมอบ, เป็นต้น
-
ส่วนตรงกลาง: ผลิตภัณฑ์นม อาหารสำเร็จรูป ของหวาน น้ำอัดลม เบียร์ อาหารปรุงสุก เป็นต้น
-
ส่วนล่าง: เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น
-
ถังผักและผลไม้: ผลไม้สด, ผัก, สลัด, ผักราก, มันฝรั่ง, หัวหอม, กระเทียม, มะเขือเทศ, กะหล่ำปลีดอง, หัวผักกาด, เป็นต้น
หมวดหมู่ของช่องเก็บบริเวณประตูตู้เย็น
-
กล่องประตูบน/กลาง: ไข่ เนย ชีส ฯลฯ
-
กล่องประตูล่าง: เครื่องดื่ม กระป๋อง ขวด ฯลฯ
ไม่ควรเก็บผลไม้ (กล้วย, สัปปะรด, มะละกอ,มะนาวซิตรัส) และผัก (บวบ มะเขือยาว แตงกวา พริกหยวก มะเขือเทศ และมันฝรั่ง) ที่ไม่ทนต่ออุณหภูมิต่ำๆ ในตู้เย็น
หมวดหมู่ของช่องเก็บภายในห้องแช่แข็ง
-
การแช่แข็ง, การเก็บอาหารแช่แข็ง (กรุณาดูในหมวด การแช่แข็ง การเก็บอาหารแช่แข็ง)
กรุณาอย่าเก็บสิ่งเหล่านี้ภายในห้องแช่แข็ง : ผักกาดหอม ไข่ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ องุ่น พีช โยเกิรต์ นมเปรี้ยว ครีมเปรี้ยว มายองเนส
คำแนะนำ วิธีการเก็บอาหารในตู้เย็น
คำเตือนสำคัญเกี่ยวกับการเก็บรักษาอาหาร
ใช้เครื่องไฟฟ้าให้ถูกวิธี ใช้ภาชนะจัดเก็บที่เหมาะสม รักษาอุณหภูมิให้พอเหมาะ หมั่นสังเกตุมาตรฐานความสะอาดของอาหาร – ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อคุณภาพของอาหารที่เก็บรักษา
หมั่นตรวจวันหมดอายุของอาหาร ตามที่ระบุไว้ที่กล่องหรือหีบห่อ
อาหารที่เก็บไว้ในตู้เย็น ควรเก็บด้วยภาชนะที่ปิดสนิท หรือหีบห่อที่เหมาะสมและสามารถป้องกันไม่ให้ปล่อยกระจายหรือดูดรับกลิ่นและความชื้น
ไม่ควรเก็บวัตถุที่ติดไฟได้ สารระเหย และวัตถุระเบิดไว้ในตู้เย็น
ขวดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในปริมาณสูงควรจะมีการซีลปิดฝาให้สนิท และเก็บไว้ในลักษณะวางตั้งขึ้น
สารละลายอินทรีย์ น้ำมันหอมละเหยในมะนาว หรือเปลือกส้ม กรดไขมันนม ฯลฯ อาจทำลายผิวของชิ้นส่วนหรือวัสดุประเภทพลาสติคของเครื่องใช้ไฟฟ้าหากปล่อยให้มีการสัมผัสโดนกันเป็นระยะเวลานานสิ่งเหล่านี้มักเป็นสาเหตุความเสียหาย หรือทำให้วัสดุเหล่านี้หมดอายุก่อนเวลาอันควร
กลิ่นอันไม่พึงประสงค์เป็นสัญญาณเตือนว่าความสะอาดของเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่เพียงพอ หรือ ของที่เก็บไว้อาจเริ่มเน่าเสีย (กรุณาดูในหมวด การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า)
หากท่านจะไม่อยู่บ้านเป็นระยะเวลานานๆ เราแนะนำให้ท่านนำสิ่งที่เน่าเสียได้ออกจากตู้เย็น
หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของอาหาร
โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
-
การเปิดประตูเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นเวลานานๆ อาจเป็นสาเหตุให้ชิ้นส่วนของเครื่องใช้ไฟฟ้าเกิดความร้อนสูงขึ้น
-
ทำความสะอาดพื้นผิวเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะสัมผัสกับอาหารและระบบระบายน้ำที่เข้าถึงได้เป็นประจำ
-
เก็บรักษาเนื้อสัตว์และเนื้อปลาดิบไว้ภาชนะที่เหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับตู้เย็น เพื่อไม่ให้เนื้อดิบสัมผัสหรือเกิดน้ำหยดลงบนอาหารอื่น
-
เมื่อไม่ได้ใช้งานหรือไม่แช่สิ่งของในตู้เย็นเป็นเวลานาน ให้ปิดเครื่อง ละลายน้ำแข็ง ทำความสะอาด เช็กแห้ง และเปิดประตูทิ้งไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อราก่อตัวขึ้นในเครื่องใช้ไฟฟ้า
วิธีการแช่แข็งอาหาร และการเก็บรักษาอาหารแช่แข็ง
ขั้นตอนการแช่แข็งอาหาร
ปริมาณอาหารสดมากที่สุดที่สามารถใส่เข้าไปในครั้งเดียวกัน จะถูกระบุไว้อยู่ที่ฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากจำนวนอาหารที่ต้องการแช่แข็งมากกว่าปริมาณที่กำหนด คุณภาพของการแช่แข็งก็จะลดลง ยิ่งไปกว่านั้น คุณภาพอาหารที่แช่แข็งไว้แล้ว ก็จะลดลงไปด้วย
-
ให้เปิดฟังก์ชั่นซูเปอร์ฟรีซเป็นเวลา 24 ชั่วโมงก่อนที่จะทำการแช่แข็งอาหาร
-
ให้หมุน ลูกบิด A ไปยังตำแหน่ง
.
-
ระวังไม่ให้อาหารสดที่เพิ่งแช่ ไปสัมผัสโดนกับอาหารที่แช่แข็งแล้ว
-
หากท่านแช่แข็งอาหารเป็นจำนวนน้อย (1-2 กิโลกรัม), ท่านไม่จำเป็นต้องเปิดฟังก์ชั่นซุปเปอร์ฟรีซ
-
หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการแช่แข็งแล้ว ให้หมุน แป้นหมุน A กลับไปที่การตั้งค่าที่ต้องการ
คำเตือนสำคัญเกี่ยวกับการแช่แข็งอาหาร
ควรใช้ช่องแช่แข็งในการแช่เย็นอาหารที่เหมาะกับการแช่แข็งเท่านั้น ควรใช้อาหารที่มีคุณภาพ
เลือกภาชนะหีบห่อที่เหมาะสมกับอาหารและใช้เก็บอาหารอย่างถูกวิธี
ตรวจให้แน่ใจว่าภาชนะหีบห่อปิดสนิทป้องกันทั้งอากาศและน้ำ ดังนั้นอาหารก็จะไม่แห้งเฉา หรือสูญเสียวิตามิน
ทำสัญลักษณ์บ่งชี้ชนิดอาหาร จำนวน วันที่ของการแช่แข็งบนภาชนะหีบห่อ
เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะทำให้อาหารเย็นแข็งตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เราจึงแนะนำให้ใช้ภาชนะหีบห่อที่มีขนาดเล็ก
การเก็บรักษาอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป
-
ทั้งตอนที่เก็บและตอนที่จะใช้อาหาร ให้ตรวจสอบคำแนะนำจากผู้ผลิต อุณหภูมิและวันหมดอายุจะถูกระบุไว้ที่ข้างภาชนะหีบห่อ
-
เลือกเฉพาะอาหารที่ภาชนะหีบห่อไม่เสียหาย ไม่บุบ ควรเก็บในห้องแช่แข็งที่อุณหภูมิ -18◦เซลเซียส หรือต่ำกว่านั้น
-
ไม่ควรซื้ออาหารที่มีรอยเคลือบด้วยน้ำแข็ง เพราะเป็นสิ่งที่แสดงว่า อาจมีบางส่วนของอาหารเกิดการละลายมาแล้วหลายครั้ง และมักจะมีคุณภาพที่ด้อยกว่า
-
พยายามระวังไม่ให้อาหารละลายในช่วงระหว่างการเคลื่อนย้าย ในกรณีที่อุณหภูมิสูงขึ้น, อายุของการเก็บอาหารก็จะสั้นลง และคุณภาพก็อาจจะด้อยลงไป
อายุเวลาของการเก็บอาหารแช่แข็ง
ตารางแนะนำระยะเวลาเก็บในห้องแช่แข็ง
ชนิดของอาหาร |
อายุการเก็บ |
---|---|
ผลไม้, เนื้อวัว |
ตั้งแต่ 10 จนถึง 12 เดือน |
ผัก, เนื้อลูกวัว, เนื้อไก่ หรือสัตว์ปีก |
ตั้งแต่ 8 จนถึง 10 เดือน |
เนื้อกวาง |
ตั้งแต่ 6 จนถึง 8 เดือน |
เนื้อหมู |
ตั้งแต่ 4 จนถึง 6 เดือน |
เนื้อสัตว์ที่หั่น หรือบดแล้ว |
4 เดือน |
ขนมปัง, ขนมอบ พาสตรีย์, อาหารที่ทำสำเร็จแล้ว, เนื้อปลาไม่ติดมัน |
3 เดือน |
เครื่องใน |
2 เดือน |
ไส้กรอกรมควัน, เนื้อปลาติดมัน |
1 เดือน |
การละลายอาหารแช่แข็ง
-
การละลายเป็นขั้นตอนสำคัญในการเก็บอาหารที่เก็บรักษาโดยการแช่แข็ง จะต้องละลายอาหารด้วยวิธีที่ถูกต้อง
-
วิธีการละลายอาหารที่เหมาะสมคือ:
-
ในตู้เย็น
-
ในน้ำเย็น
-
ในไมโครเวฟหรือเตาอบธรรมดาที่มีโปรแกรมละลายที่เหมาะสม
-
-
ผลิตภัณฑ์แช่แข็งบางชนิดสามารถเตรียมได้โดยไม่ต้องละลายก่อน ผู้ผลิตจะระบุสิ่งดังกล่าวไว้บนบรรจุภัณฑ์
-
อาหารต้องบรรจุเป็นส่วนเล็กๆ ด้วยวิธีนี้ อาหารจะละลายเร็วขึ้น
-
ใช้อาหารที่ละลายบางส่วนหรือทั้งหมดโดยเร็วที่สุด แบคทีเรียในอาหารที่ละลายจะถูกกระตุ้นใหม่และอาหารจะเน่าเสียอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผลไม้ ผัก และอาหารสำเร็จรูป
-
อย่าแช่แข็งอาหารที่ละลายบางส่วนหรือทั้งหมด
การละลายน้ำแข็งที่เครื่องใช้ไฟฟ้า
ระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติของตู้เย็น
ตู้เย็นไม่จำเป็นต้องละลายน้ำแข็งเพราะน้ำแข็งที่ผนังด้านในด้านหลังจะละลายให้โดยอัตโนมัติ น้ำแข็งที่สะสมจะละลายเมื่อคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน หยดน้ำจะไหลผ่านช่องเปิดในผนังด้านหลังของตู้เย็นลงในถาดที่ติดตั้งเหนือคอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะระเหยออกจากที่ที่หยด
ตรวจสอบว่าช่องเปิดที่ทำไว้ด้านหลังผนังของตู้เย็นไม่โดนกีดขวางโดยอาหารหรือสิ่งใดๆ
หากมีชั้นน้ำแข็งมากเกินไปก่อตัวขึ้นที่ผนังด้านในของตู้เย็น (3-5 มม.) ให้ปิดสวิทช์เครื่องใช้ไฟฟ้าและทำการละลายน้ำแข็งเองโดยตัวผู้ใช้
ตู้เย็นที่มีระบบละลายน้ำแข็งโดยผู้ใช้
-
ควรทำการละลายน้ำแข็งเมื่อมีชั้นน้ำแข็งก่อตัวขึ้นที่ผนังด้านในของตู้เย็น (3-5 มม.)
-
ก่อนทำการละลายน้ำแข็ง 24 ชั่วโมง ให้เปิดฟังก์ชั่นซุปเปอร์ฟรีซ เพื่อเพิ่มความเย็นให้อาหารเป็นพิเศษ (กรุณาดูในหมวดขั้นตอนการแช่แข็งอาหาร)
หลังจากช่วงเวลานี้แล้ว ให้นำอาหารออกจากช่องแช่แข็ง และระวังไม่ให้ละลาย
-
ปิดสวิทช์เครื่องใช้ไฟฟ้า (กรุณาดูหมวดการเปิดปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า) และให้ดึงปลั๊กไฟฟ้าออก
-
ห้ามใช้มีด หรือของมีคมใดๆในการขูด แซะ หรืองัดน้ำแข็ง เพราะอาจเป็นการทำลายระบบทำความเย็นได้
-
ในการเร่งขบวนการละลายน้ำแข็ง ท่านอาจจะนำเอาน้ำร้อนใส่กา แล้ววางบนถาดแก้วในช่องแช่แข็ง
-
ทำความสะอาดและทำภายในห้องแช่แข็งให้แห้ง (กรุณาดูหมวด การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า)
การทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า
ก่อนทำความสะอาด ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า (อ้างอิง ) และถอดปลั๊กไฟจากปลั๊ก
-
ใช้ผ้านุ่มทำความสะอาดพื้นผิวทั้งหมด น้ำยาทำความสะอาดที่ประกอบด้วย ยาขัด, กรด หรือสารทำละลาย เช่นทินเนอร์ น้ำมันสน จะไม่เหมาะกับการทำความสะอาด เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายนอก ด้วยน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธ์อ่อนๆ เช่นน้ำสบู่
บริเวณผิวที่เคลือบด้วยแลคเกอร์ และอลูมิเนียม อาจทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่นๆ ที่อาจผสมด้วยน้ำยาทำความสะอาดเพียงเล็กน้อย น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เล็กน้อยก็สามารถใช้ได้ (เช่น น้ำยาล้างกระจก) อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้น้ำยาที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดชิ้นส่วนพลาสติก
ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถทำความสะอาดได้โดยใช้น้ำอุ่นหรือเติมน้ำส้มสายชูในปริมาณเล็กน้อยลงไปในน้ำอุ่นได้
-
ไม่ควรล้างอุปกรณ์ชิ้นส่วนภายในของเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยเครื่องล้างจาน เนื่องจากอาจจะเสียหายได
-
รางน้ำที่ออกแบบให้เป็นร่องว่างๆสำหรับการไหลของน้ำทิ้งที่เกิดจากการละลายน้ำแข็งที่เกาะอยู่ตามผนังช่องแช่เย็น ซึ่งรางนี้จะมีตำแหน่งอยู่ที่ด้านใต้ของฝาช่องแช่เย็น บริเวณฝานี้เป็นบริเวณที่ให้ความเย็นกับภายในของตู้เย็น รางน้ำนี้จะต้องเปิดให้โล่งและต้องไม่มีอะไรมากั้น
-
น้ำแข็งที่เกาะติดอยู่ หรือเป็นชั้น 3-5 มม.จะทำให้เปลืองไฟฟ้า ดังนั้น ควรหมั่นเช็ดออก (ไม่รวมถึงตู้เย็นประเภท No Frost) ไม่ควรใช้ของ แหลม มีคม หรือสารละลาย หรือสเปรย์
-
หน่วยควบแน่นที่อยู่ถัดจากคอมเพรสเซอร์ที่ด้านหลังของเครื่อง (เฉพาะบางรุ่น) ต้องได้รับการทำความสะอาดและปราศจากฝุ่นหรือสิ่งสกปรกอื่นๆ ทำความสะอาดเป็นครั้งคราวโดยใช้แปรงขนอ่อนที่ไม่ใช่โลหะหรือเครื่องดูดฝุ่น
-
หลังจากทำความสะอาดแล้ว เปิดสวิทช์เครื่องใช้ไฟฟ้าเหมือนเดิมแล้วเริ่มนำอาหารเข้าไปแช่เย็น
การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
ปัญหา |
สาเหตุ และวิธีการแก้ไข |
---|---|
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อกับระบบไฟฟ้าแล้วแต่ไม่ทำงาน |
|
ระบบทำความเย็นทำงานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานเกินไป |
|
การก่อตัวของน้ำแข็งที่ผนังด้านหลังภายในของตู้เย็นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้ |
|
การก่อตัวของน้ำแข็งหรือน้ำค้างแข็งภายในช่องแช่แข็ง: |
|
หยดน้ำจากการควบแน่น บนชั้นวาง เหนือลิ้นชัก |
|
หยดที่ผนังด้านหลังช่องแช่เย็น |
|
มีน้ำหยด หรือรั่วออกจากตู้เย็น |
|
ประตูเปิดยาก |
|
ด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าอุ่น: |
|
หลอดไฟแอลอีดี ไม่ทำงาน |
|
หากการแก้ปัญหาเบื้องต้นดังระบุด้านบนไม่ช่วยแก้ปัญหา หรือท่านมีปัญหาอื่นนอกเหนือจากนี้, กรุณาติดต่อช่างบริการหลังการขาย หรือ ศูนย์ตัวแทนจำหน่ายที่ใกล้ที่สุด พร้อมระบุแบบ, รุ่นโมเดล, รหัสประจำเครื่อง (Serial No.) ที่ระบุอยู่ที่ฉลากของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ข้อมูลเกี่ยวกับเสียงของเครื่องใช้ไฟฟ้า
ระบบทำความเย็นของตู้เย็นและตู้แช่แข็งเป็นระบบทำความเย็นที่มีส่วนประกอบหลักคือคอมเพรสเซอร์ (และพัดลมสำหรับบางจุดในเครื่องใช้) ซึ่งอาจก่อให้เกิดเสียงบ้าง ระดับของเสียงก็จะขึ้นอยู่กับวิธีการติดตั้ง วิธีการใช้ที่ถูกต้อง และอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
-
หลังจากที่ต่อไฟฟ้าเข้ากับตู้เย็น คอมเพรซเซอร์ก็จะเริ่มทำงาน จะมีเสียงของ ของเหลวไหล(น้ำยาทำความเย็น), และบางครั้งอาจมีเสียงดังขึ้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่บอกว่ามีการทำงานที่ผิดปกติ และไม่ส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า เมื่อเวลาผ่านไป ระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า และเสียงก็จะเงียบมากขึ้นจนสู่ระดับปกติ
-
บางครั้ง หากมีเสียงดังผิดปกติแม้กระทั่งในขณะที่เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงาน เสียงต่างๆเหล่านี้มักเกิดจากสาเหตุการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม :
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องถูกติดตั้งในลักษณะตั้งตรงในแนวดิ่งบนพื้นวางที่มั่นคง
-
เครื่องใช้ไฟฟ้าจะต้องไม่ถูกติดตั้งติดหรือสัมผัสกับกำแพง หรือผนังของเฟอร์นิเจอร์
-
ตรวจสอบอุปกรณ์ภายในเครื่องใช้ไฟฟ้าว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องและยึดติดสนิท เพื่อจะได้ไม่มีเสียงที่เกิดจากการเขย่าชนกันของขวด กระป๋อง หรือภาชนะใดๆ ที่วางอยู่ติดกัน
-
-
ในสถานการณ์ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าต้องทำงานหนักขึ้นเมื่อเปิดประตูบ่อยๆ หรือเปิดค้างไว้นานๆ หรือนำอาหารสดจำนวนมากใส่เข้าไปในตู้เย็น หรือเมื่อกดฟังก์ชั่นเร่งความเย็นต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะส่งเสียงดังมากขึ้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง
บันทึกของคุณ
เราขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์